วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

อำเภอสวนผึ้ง

สวนผึ้ง อำเภอกลางป่าเขาดงดอย น่าจะมีอะไรดีๆ....เป็นคำที่คาใจผมในฐานะที่เป็นนักสำรวจคนหนึ่งมาตลอด จนกระทั้งเมื่อกลางปี 49 นี้ได้มีโอกาสเหมาะๆไปสำรวจมา ตามสูตรไทยทัวร์ครับ ผมจะแยกเป็นหมวดๆ ดังนี้ ที่พัก การเดินทางและแผนที่ สถานที่ท่องเที่ยว(เฉพาะที่น่าสนใจ) ฯลฯ 2-3ปีนี้เริ่มมีรีสอร์ทสวยๆ ผุดขึ้นหลายที่ ขณะที่ข่าวก็อดอาร์มี่เมื่อ3-4 ปีก่อนค่อยๆ ลีมหายไป
สวนผึ้งปัจจุบันไม่อันตรายเหมือนเมื่อก่อนที่มีคดีโจรกระเหรี่ยงออกมาปล้นสดม นายตำรวจที่อำเภอนี้ว่างงานครับ คือไม่ค่อยมีคดีอะไรให้ทำ เรียกได้ว่าปลอดภัยดีสำหรับนักท่องเที่ยว จุดเด่นหลักๆของสวนผึ้งมีแต่ ธรรมชาติล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็น ป่าเขียวชอุ่ม น้ำตก ลำธารสำหรับล่องแก่ง หรือพายเรือ ขับรถ 4 wheel ขึ้นยอดเขากระโจม อาบน้ำแร่ ฯลฯ การเดินทางก็ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ควรออกจากกรุงเทพฯ ก่อน 8 โมงเข้ากำลังดี ประมาณ 1 1/2 ชั่วโมงจะเข้าเขต จ.ราชบุรี หากหลงเข้าไปตัวเมือง แวะนมัสการหลวงพ่อแก่นจันทน์ หน่อยก็จะดี และตรงต่อเข้า อ.จอมบึง ที่นี่ต้องแวะ ถ้ำจอมบึงและถ้ำเขาบิน อยู่ระหว่างทางผ่าน และจากที่นี่ไปจะเข้าเขต สวนผึ้ง เป็นเป็นทางคดเคี้ยวหน่อยแต่ไม่ลาดชันหรืออันตรายแต่อย่างไร

คำขวัญอำเภอสวนผึ้ง

......สาวกะเหรี่ยงเคียงถิ่นตะนาวศรี......ลำภาชีแก่งส้มแมวแนว หุบผา......ธารน้ำร้อนบ่อคลึงตรึงติดตา......น้ำผึ้งป่าหวานซึ้งติดตรึงจัย. ...

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

1.ชื่อหน่วยงานและสถานที่ตั้ง

เทศบาลตำบลสวนผึ้งเดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล มีชื่อว่า "สุขาภิบาลสวนผึ้ง ซึ่งได้จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสุขาภิบาล เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2528 อยู่ห่างจากจังหวัดราชุบรี 60 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 9.34 ตารางกิโลเมตร รวม 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน
เทศบาลสวนผึ้งตั้งอยู่ที่ หมู่. 1 ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี



2.ปรัชญา วิสัยทัศน์

ปรัชญา
เทศบาลตำบลสวนผึ้ง เต็มใจให้บริการ และพัฒนาชุมชน โดยยึดประชาชนเป็นสำคัญ
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทางสะดวก น้ำไหล ไฟสว่าง การศึกษาที่มีคุณภาพ การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ เต็มใจบริการ ให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งยังพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาชุมชน

3.อำนาจหน้าที่

หน่วยงานเทศบาลตำบลสวนผึ้งมีหน้าที่
ตามพระราชบัญัติเทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดไว้โดยชัดเจน ซึ่งอาจจำแนกที่มา ของอำนาจหน้าที่ดังกล่าวเป็น 2 ประเภท คือ อำนาจหน้าที่ตามกฏหมาย จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ้น กำหนดและอำนาจ หน้าที่กฏหมาย เฉพาะอื่น ๆ กำหนดกล่าวคือ
อำนาจหน้าที่ตามที่กฏหมายจัดตั้งเทศบาลกำหนด สามารถแบ่งแยกประเภท อำนาจหน้าที่ของเทศบาลไว้เป็น 2 ส่วนคือหน้าที่บังคับ หรือหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติและอำนาจหน้าที่ที่จะเลือกปฏิบัติ ทั้งยังได้กำหนด อำนาจหน้าที่ของเทศบาลในฐานะต่าง ๆ คือ เทศบาลตำบล มีอำนาจหน้าที่ต้องปฏิบัติดังนี้
1.1 มาตรา 50 ภาตใต้บังคับแห่งกฏหมายเทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเทศบาลดังนี้
- การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- ให้มีบำรุงทางบกและทางน้ำ
- รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล
- ป้องกันระงับโรคติดต่อ
- ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
- ให้ราษฏรได้รับการศึกษาอบรม
- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
- บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- หน้าที่อื่นตามที่กฏหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
1.2 มาตรา 51 ภายใต้แห่งกฏหมายเทศบาลตำบลอาจทำกิจกรรมใด ๆ ในเขตเทศบาลดังนี้
- ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
- ให้มีโรงฆ่าสัตว์
- ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือหรือท่าข้าม
- ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
- บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
- ให้มีบำรุงสถานที่ที่ทำกิจการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
- ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
- ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
- เทศพาณิชย์
อำนาจตามพระราชบัญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542 กำหนดอำนาจหน้าที่การจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 เพื่อประโยชน์ของประชาชนท้องถิ่น
-การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
- การจัดให้มีการบำรุงรักษาทางบกทางน้ำและทางระบายน้ำ
- การจัดให้มีและควบคุมตลาดท่าเทียบเรือท่าข้ามและที่จอดรถ
- การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น
- การสารธารณูปการ
- การส่งเสริมการฝึกการประกอบอาชีพ
- การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน
- การส่งเสริมการท่องเที่ยว
- การจัดการศึกษา
- การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส
- การบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อยใจ
- การส่งเสริมการกีฬา
- การส่งเสริมประชาธิปไตยความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฏรในการพัฒนาท้องถิ่น
- การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- การกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย
- การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล
- การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
- การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
- การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
- การรักษาความปลอดภัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
- การจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม ้ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การผังเมือง
- การขนส่งและวิศวกรรมจราจร
- การดูแลรักษาที่สาธารณะ
- การควบคุมอาคาร
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- การรักษาความสงบเรียบร้อยการส่งเสริมและการสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
- กิจการอื่นที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

4.จำนวนบุคลากร

บุคลากรในหน่วยงานเทศบาลตำบลสวนผึ้งประกอบไปด้วย
1.นายอนันต์ เฮงทองเลิศ ตำแหน่งนายกเทศมนตรี
2.นายยอดธง มั่นใจ ตำแหน่งรองนายกเทศมนตรี
3.นายจำเนียร แย้มวงษ์ ตำแหน่งรองนายกเทศมนตรี
4.นายชัยนาท ใจมุ่ง เลขานายกเทศมนตรี
5.นายเสรี ครังนาค ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551

5.กืจกรรมโครงการเทศบาลสวนผึ้ง




1.โครงการชาวสวนผึ้งร่วมใจขจัดภัยยาเสพติด (To be number one) ประจำปี 2550 โดยนายสมบูรณ์ ศิริเวช นายอำเภอสวนผึ้ง เป็นประธาน ณ ศาลาประชาคมอำเภอสวนผึ้ง




2.โครงการก่อสร้างสวนสุขภาพชุมชนบ้านบ่อ ประจำปีงบประมาณ 2550



3.โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2550


4.โครงการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ประจำปี 2550 โดยเทศบาลตำบลสวนผึ้งร่วมกับรพ.สวนผึ้งและสถานีอนามัยตำบลสวนผึ้ง